ผู้เขียน หัวข้อ: โรคมะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer)  (อ่าน 72 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 268
    • ดูรายละเอียด
โรคมะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer)
« เมื่อ: 16 ธันวาคม 2023, 10:35:43 am »
มะเร็งกล่องเสียง พบได้ประมาณร้อยละ 3 ของมะเร็งทั้งหมด พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 10 เท่า และพบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉลี่ยอายุประมาณ 60-70 ปี
 

สาเหตุ

ยังไม่ทราบแน่ชัด พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่

    การสูบบุหรี่ และจะพบมากขึ้นในผู้ที่ดื่มสุราร่วมด้วย
    การดื่มสุราจัด
    การติดเชื้อเอชพีวี (human papilloma virus/HPV)
    การสัมผัสสารใยหิน นิกเกิล ฝุ่นไม้ สี และสารเคมีบางชนิด (เช่น กรดกำมะถัน)
    การระคายเคืองเรื้อรังจากโรคกรดไหลย้อน
    ภาวะขาดสารอาหารซึ่งมักพบร่วมกับผู้ที่ดื่มสุราจัด
    การมีประวัติมะเร็งกล่องเสียงในครอบครัว


อาการ

มักมีอาการเสียงแหบเรื้อรังติดต่อกันนานเกิน 2-3 สัปดาห์ อาจมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง ไอเรื้อรัง ปวดหู รู้สึกเจ็บเวลากลืนหรือกลืนลำบาก หรือสำลักร่วมด้วย

ต่อมาอาจพบมีเลือดออกปนกับเสมหะ ไอเป็นเลือด มีก้อนแข็งที่ข้างคอ น้ำหนักลด หายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงดังฮี้ด (stridor)

ภาวะแทรกซ้อน

อาจทำให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจ ทำให้หายใจลำบาก และเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่าง ๆ ที่มะเร็งแพร่กระจายไป เช่น ต่อมน้ำเหลืองที่คอ (ก้อนบวมโตที่ข้างคอ) ต่อมไทรอยด์ (คอโต คอพอก) หลอดอาหาร (กลืนลำบาก) หลอดลม (ไอ หายใจลำบาก) ปอด (เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด หายใจหอบ) เป็นต้น


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากอาการ ประวัติการเจ็บป่วย และการตรวจร่างกาย


การตรวจบริเวณคอ อาจพบก้อนแข็งที่ข้างคอ (ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองโตจากมะเร็งลุกลามในระยะท้าย ๆ ของโรค) การใช้เครื่องมือส่องตรวจภายในลำคอพบเนื้องอกที่กล่องเสียง

แพทย์จะทำการวินิจฉัยให้แน่ชัดโดยใช้กล้องส่องตรวจกล่องเสียง (laryngoscopy) และตัดชิ้นเนื้อนำไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ

หากพบว่าเป็นมะเร็ง ก็จะทำการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ (เช่น เอกซเรย์, อัลตราซาวนด์, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์, การถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า-MRI, การตรวจเพทสแกน-PET scan เป็นต้น) เพื่อประเมินว่าเป็นมะเร็งระยะใด


การรักษาโดยแพทย์

ถ้าเป็นระยะแรกเริ่มจะรักษาโดยการฉายรังสีเป็นหลัก หรือผ่าตัดด้วยแสงเลเซอร์ ทำให้รักษากล่องเสียงไว้ได้ และผู้ป่วยพูดได้เป็นปกติ แต่ถ้าเป็นระยะลุกลามก็จะรักษาด้วยการผ่าตัดกล่องเสียงร่วมกับการฉายรังสี บางรายอาจให้เคมีบำบัด และ/หรือการใช้ยาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (targeted therapy drugs) ร่วมด้วย

ผลการรักษา ถ้าเป็นระยะแรกสามารถรักษาให้หายขาดและพูดได้เป็นปกติ (มีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปี ประมาณร้อยละ 70-90)

ในรายที่เป็นระยะลุกลามไม่มากและผ่าตัดกล่องเสียง ก็มักจะมีชีวิตยืนยาว แต่พูดไม่ได้ และต้องฝึกพูดด้วยการเปล่งเสียงผ่านหลอดอาหาร (esophageal speech) หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพูด (electrolarynx)

ในรายที่เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น (มีอัตราการรอดชีวิตเกิน 5 ปีประมาณร้อยละ 30-45)

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีอาการเสียงแหบนานเกิน 2 สัปดาห์, มีอาการเจ็บคอ ไอ ปวดหู หรือกลืนลำบากเรื้อรัง, มีเลือดออกปนกับเสมหะ, มีก้อนแข็งที่ข้างคอ เป็นต้น ควรปรึกษาแพทย์


โรคมะเร็งกล่องเสียง (Laryngeal cancer) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี Google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google