ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อมูลโรค: สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน/เกิร์ด  (อ่าน 76 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 268
    • ดูรายละเอียด
โรคกรดไหลย้อน (น้ำย่อยไหลกลับ เกิร์ด ก็เรียก) หมายถึงภาวะที่มีน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดไหลย้อนขึ้นไประคายเคืองต่อหลอดอาหารและลำคอ

พบได้ประมาณร้อยละ 10-15 ของผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย พบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กเล็กและคนหนุ่มสาวได้

สาเหตุ

เกิดจากภาวะหย่อนสมรรถภาพของหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหาร (lower esophageal sphincter)* ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดส่วนนี้ปิดไม่สนิท เปิดช่องให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร น้ำย่อยซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดก็จะระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดอาหาร เกิดอาการของโรคกระเพาะหรืออาหารไม่ย่อยเรื้อรังและเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

บางรายอาจมีกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนผิดปกติร่วมด้วย (เรียกว่า "Laryngopharyngeal Reflux/LPR") เปิดช่องให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่ลำคอ กล่องเสียง หลอดลม รวมทั้งอาจไปที่จมูก โพรงไซนัส และช่องหู ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุของอวัยวะเหล่านี้ ทำให้เกิดอาการไม่สบายเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

ส่วนสาเหตุที่ทำให้หูรูดดังกล่าวหย่อนสมมรรถภาพยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกิดจากความเสื่อมตามอายุหรือหูรูดยังเจริญได้ไม่เต็มที่ (ในทารก) หรือมีความผิดปกติโดยกำเนิด

พบว่ามีปัจจัยหลายประการที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น

    การกินอิ่มมากไป กระตุ้นให้มีน้ำย่อยหลั่งออกมามาก
    การนอนราบ การนั่งงอตัว โค้งตัวลงต่ำทำให้น้ำย่อยไหลย้อนง่ายขึ้น
    ภาวะอ้วน การตั้งครรภ์ การรัดเข็มขัดแน่นหรือใส่กางเกงคับเอว จะเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารทำให้น้ำย่อยไหลย้อน
    การดื่มแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีน (ชา กาแฟ ยาชูกำลังเข้าสารกาเฟอีน) นอกจากกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งมากแล้ว ยังเสริมให้หูรูดหย่อนคลายอีกด้วย
    การสูบบุหรี่ การกินอาหารมัน อาหารผัดหรือทอดอมน้ำมัน อาหารเผ็ดจัด หัวหอม กระเทียม ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำผลไม้เปรี้ยว (เช่น น้ำส้มคั้น) ผลไม้เปรี้ยว ช็อกโกแลตหรือสะระแหน่ การใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาขยายหลอดลม ยาแอนติโคลิเนอร์จิก ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นบีตาและกลุ่มต้านแคลเซียม ยาทางจิตประสาท ฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน เป็นต้น) จะเสริมให้หูรูดหย่อนคลายหรือน้ำย่อยหลั่งมากขึ้น
    การมีไส้เลื่อนกะบังลม (hiatal hernia/diaphragmatic hernia ซึ่งมีกระเพาะอาหารบางส่วนไหลเลื่อนลงไปที่กะบังลม) ขนาดใหญ่ จะทำให้หูรูดอ่อนแอมากยิ่งขึ้น
    โรคหืด เชื่อว่าเป็นผลมาจากการไอและหอบ ทำให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องจึงเกิดภาวะกรดไหลย้อน รวมทั้งการใช้ยาขยายหลอดลมก็มีส่วนทำให้หูรูดหย่อน
    เบาหวาน เมื่อเป็นนาน ๆ มีการเสื่อมของประสาทกระเพาะ ทำให้กระเพาะอาหารขับเคลื่อนช้า จึงมีกรดไหลย้อนได้
    แผลเพ็ปติก แผลหรือรอยแผลเป็นที่ปลายกระเพาะอาหาร การใช้ยากลุ่มอนุพันธ์ฝิ่น หรือยาแอนติโคลิเนอร์จิก ทำให้อาหารขับเคลื่อนสู่ลำไส้ช้าลง ทำให้มีกรดไหลย้อนได้

*ขณะกลืนอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารจะหย่อนคลายเพื่อเปิดให้อาหารไหลผ่านลงไปในกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารผ่านลงกระเพาะอาหารจนหมดแล้ว หูรูดนี้จะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำอันตรายต่อเยื่อบุหลอดอาหารได้


อาการ

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบตรงลิ้นปี่หรือยอดอก (heartburn) หลังกินอาหาร 30-60 นาที หรือหลังกินอาหารแล้วล้มตัวลงนอนราบ นั่งงอตัวโค้งตัวลงต่ำ มีการรัดเข็มขัดแน่น หรือใส่กางเกงคับเอว มักมีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง แต่ละครั้งมักปวดนานประมาณ 2 ชั่วโมง

บางรายอาจมีอาการปวดแสบร้าวจากยอดอกขึ้นไปถึงคอหอย คล้ายโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือมีอาการจุกแน่นยอดอกคล้ายอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ หรือเรอบ่อย

บางรายอาจมีอาการขย้อนหรือเรอเอาน้ำย่อยรสเปรี้ยวขึ้นไปที่คอหอย หรือรู้สึกมีรสขมของน้ำดี  หรือรสเปรี้ยวของกรดในปากหรือคอ หรือหายใจมีกลิ่น

ในรายที่มีภาวะกรดไหลย้อนรุนแรง กล่าวคือ ไหลขึ้นไปถึงปากและคอหอย อาจมีอาการกระแอมไอบ่อยหรือรู้สึกมีเสมหะอยู่ในคอหรือระคายคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังกินอาหารหรืออยู่ในท่านอนราบ


ข้อมูลโรค: สาเหตุ โรคกรดไหลย้อน/เกิร์ด อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions

 

โพสต์ฟรี ลงประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี Google ลงประกาศขายบ้าน ขายที่ดิน ขายคอนโด ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google